วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น





  ลักษณะทั่วไปของลำต้น

            ลำต้น(stem)  เป็นอวัยวะของพืชซึ่งส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นมาเหนือดินแต่ก็มีพืชบางชนิดที่ลำ ต้นอยู่ใต้ดิน  ลำต้นประกอบด้วยส่วนสำคัญ  2 ส่วนคือ\


            1. ข้อ(node)
                เป็นส่วนของลำต้นที่มีตา(bud)ซึ่งจะเจริญไปเป็นกิ่ง ดอก หรือใบ
            2. ปล้อง(internode)
                เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ

                พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะสังเกตส่วนของข้อปล้องได้อย่างชัดเจนตลอดชีวิต  เช่น  ต้นไผ่  ต้นอ้อย  ข้าวโพด  เป็นต้น  ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่นั้นส่วนใหญ่แล้วข้อปล้องจะสังเกตได้ไม่ชัดเจนทั้งนี้ เพราะเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมักจะมีเนื้อเยื่อชั้นคอร์ก(cork)  มาหุ้มโดยรอบเอาไว้  การจะสังเกตอาจจะสังเกตในขณะที่พืชยังอ่อนอยู่  แต่ก็ยังมีพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดที่สามารถสังเกตเห็นข้อปล้องได้อย่างชัดเจน ตลอดชีวิตเหมือนพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่พวกไม้ล้มลุกต่างๆ  เช่น  ต้นตำลึง  ฟักทอง  และผักบุ้ง เป็นต้น
โครงสร้างของลำต้น

     1.โครงสร้างภายในของปลายยอดพืช
              บริเวณปลายยอดพืชสามารถแบ่งออกเป็นบริเวณ(region/zone)  ได้ทั้งหมด 3 บริเวณด้วยกันคือ

               1.บริเวณเซลล์แบ่งตัว(region of cell division)
               2.บริเวณเซลล์ยืดตัว(region of cell elongation)
               3.บริเวณเซลล์เจริญเต็มที่ (region of maturation)


     2.โครงสร้างภายในของลำต้นที่ตัดตามขวาง
                เมื่อนำปลายยอดของพืชมาตัดตามขวางบริเวณเซลล์เจริญเต็มที่จะพบว่าโครงสร้าง ภายในประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆตามแต่ชนิดของพืชโดยแบ่งได้ดังนี้




           2.1.โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

epidermis
               เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภายในของลำต้น  ส่วนใหญ่เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว  พืชบางชนิด epidermis มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนของ trichome / hair  และ  guard cell
                ในต้นพืชที่อายุมากส่วนใหญ่แล้วส่วนของ epidermis จะหลุดหายไปเพราะถูกแทนที่ด้วยส่วนของคอร์ก

cortex (คอร์เทกซ์)
               คอร์เทกซ์เป็นชั้นของลำต้นที่มีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ epidermis เข้ามาจนถึงเนื้อเยื่อเอนโดเดอมิส(endodermis)  ดังนั้นในชั้นคอร์เทกซ์จึงประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้แก่

 parenchyma   เป็นเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ที่พบภายในลำต้น
 chlorenchyma   ทำหน้าที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 aerenchyma   ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสะสมอากาศ  โดยเฉพาะพืชน้ำ
 collenchyma เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลำต้น
 sclerenchyma(fiber) ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้น

stele (สตีล)
                สตีลเป็นชั้นที่ถัดเข้ามาจากชั้นคอร์เทกซ์  โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ endodermis เข้ามาจนถึงใจกลางของลำต้น  แต่เนื่องจากในลำต้นเนื้อเยื่อ endodermis ส่วนใหญ่เห็นได้ไม่ชัดเจนหรือหนังสือบางเล่มก็กล่าวว่าในลำต้นจะไม่มีเนื้อ เยื่อ endodermis  ทำให้ชั้นสตีลในลำต้นแบ่งแยกออกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนเหมือนในส่วน ของรากพืช  ภายในชั้นสตีลจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่สำคัญคือ

        vascular bundle
               หมายถึงกลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียง
ภายในเนื้อเยื่อ vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงคู่ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร(phloem)เรียงตัวอยู่ทางด้านนอกและกลุ่มเนื้อ เยื่อลำเลียงน้ำ(xylem)เรียงตัวอยู่ทางด้านในหรือด้านที่ติดกับ pith  ระหว่าง xylem กับ phloem จะมีเนื้อเยื่อเจริญที่เรียกว่า vascular  cambium คั่นกลางอยู่ทำหน้าที่แบ่งเซลล์เพื่อให้กำเนิด xylem และ phloem

         pith

               เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลำต้น  ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท
parenchyma  จึงทำหน้าที่ในการสะสมสารต่างๆ  ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็น ช่องกลวงกลางลำต้น  เรียกช่องนี้ว่า  pith cavity


        2.2โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

epidermis
               เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภาย ในของลำต้น  ส่วนใหญ่เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียวและมีอยู่ตลอดไป ยกเว้นใน   ต้นพืชตระกูลปาล์มจะมีเฉพาะในปีแรกเท่านั้นเพราะต่อมาจะมีเนื้อเยื่อคอร์ก (cork) มาแทน
 cortex
                มีเนื้อเยื่อบางๆ1-2 ชั้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อชนิด parenchyma  และส่วนใหญ่ไม่พบ endodermis ทำให้อาณาเขตแบ่งได้ไม่ชัดเจน

stele
              vascular bundle
                    กลุ่มของเนื้อเยื่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนของ xylem, phloem จะเรียงตัวกันมองคล้ายๆใบหน้าคน  มีส่วนของ vessel อยู่บริเวณคล้ายดวงตา  ส่วน phloem อยู่บริเวณคล้ายหน้าผาก   xylem และ phloem จะถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อ parenchyma หรืออาจเป็น sclerenchyma  และเรียกเซลล์ที่มาล้อมรอบนี้ว่า   bundle sheath   vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ไม่พบเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium  ยกเว้นหมากผู้หมากเมีย  และพืชตระกูลปาล์ม

               pith        
                    เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลำต้น  ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma  พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น ข้าวโพด  ในเนื้อเยื่อของ pith นี้จะพบ vascular bundle กระจายอยู่เต็ม  นอกจากนี้พืชบางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็นช่องกลวงกลางลำ ต้น  เรียกว่า  pith cavity  เช่นต้นไผ่  ต้นข้าวเป็นต้น

                         
ชนิดและหน้าที่ของลำต้น

       โดยทั่วไปสามารถจำแนกลำต้นออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆด้วยกันคือ

     1.ลำต้นเหนือดิน(aerial stem/terrestrial stem)


       creeping stem  คือลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ  เช่น  ผักบุ้ง  ผักกระเฉด ฟักทอง  สตรอเบอรี่ และหญ้า เป็นต้น

     



climbing stem   คือลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง  ถ้ามีหลักหรือต้นไม้ที่ลำต้นตั้งตรงอยู่ใกล้ๆจะถูกใช้ไต่ขึ้นไป  แบ่งออกเป็น

           - twining stem ลำต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว  เช่น เถาวัลย์  ต้นถั่ว  บอระเพ็ด  ฝอยทอง เป็นต้น

         - stem tendril   ลำต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ส่วนของลำต้นดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ(tendril)  เพื่อพันหรือไต่ขึ้นที่สูง  ส่วนของ tendril จะบิดเป็นเกลียวคล้ายสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่น  เช่น  ต้นองุ่น  บวบ  แตงกวา  กระทกรก  โคกกระออม  พวงชมพู เป็นต้น



       - root climber  ลำต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้รากซึ่งออกมาตามข้อ ยึดหลักหรือต้นไม้  เช่น  ต้นพริกไทย  พลู  และพลูด่าง  เป็นต้น


        stem spine /  stem thorn  ลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามหรือขอเกี่ยว (hook)  เพื่อไต่ขึ้นที่สูง  เช่น  ต้นเฟื้องฟ้า  ไผ่  ไมยราบ  และพืชตระกูลส้ม เป็นต้น






        cladophyll / phylloclade / cladode คือลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะหรือหน้าที่คล้ายใบ เช่น ลำต้นแป็นแผ่นแบน  หรือมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์ ได้แก่  กระบองเพชร  พญาไร้ใบ  หน่อไม้ฝรั่ง  โปร่งฟ้า  เป็นต้น



         bulbil / crown / slip   คือลำต้นที่เป็นตาหรือหน่อเล็กๆ สั้นๆ  ที่ประกอบด้วยยอดอ่อนและใบเล็กๆ 2-3 ใบ แตกออกระหว่างซอกใบกับลำต้น  หรือแตกออกจากยอดของลำต้นแทนดอก  เมื่อมันหลุดร่วงลงดินก็สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้  เช่น  หอม  กระเทียม  สับปะรด เป็นต้น







     2.ลำต้นใต้ดิน (underground stem)



     rhizome คือลำ ต้นใต้ดินที่เรียกกันว่า  แง่ง หรือเหง้า ส่วนใหญ่ขนานกับพื้นดิน มีข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน  ตามข้อมีใบที่เป็นแปลงเป็นสีน้ำตาล ได้แก่  ขิง  ข่า  ขมิ้น  บางชนิดอาจตั้งตรง เช่น กล้วย พุทธรักษา เป็นต้น

     

          tuber   ลำต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร  ทำให้อวบอ้วน  แต่บริเวณที่เป็นตาจะไม่อ้วนออกมาด้วยทำให้เห็นเป็นรอยบุ๋ม  ได้แก่  มันฝรั่ง เป็นต้น


     bulb ลำต้นใต้ดินที่ลำต้นเล็กมีปล้องสั้นมาก  ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายๆชั้น  ห่อหุ้มลำต้นเอาไว้และสะสมอาหาร เช่น  หอม กระเทียม เป็นต้น

   
     corm  เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับ bulb มีลักษณะคล้ายกันแต่เก็บสะสมอาหารไว้ในลำต้นจนทำให้เห็นลำต้นอวบอ้วน  ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆหุ้ม  มีตางอกตามข้อ  เช่น  เผือก  แห้วจีน  เป็นต้น

   












วงปี






            ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟล เอ็มขั้นที่ 2 จำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและธาตุอาหาร

           ในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี เช่น ฤดูฝน เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง และมีสีจาง

            ในฤดูแล้ง เซลล์ชั้นในไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทำให้เห็นแถบแคบๆและมีสีเข้ม

            ลักษณะดังกล่าวทำให้เห็นเนื้อไม้มีสีจางและเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี




นี่ี!!!!! เพื่อนๆ ได้ความรู้กันบ้างแล้ว หรือใครที่กำลังมองหาโจทย์อยากปะลองยุทธ์ทีมีอยู่ นี่ คลิก เข้าไปประลองยุทธ์กันได้ในลิงค์ข้างล่างนี้เลยจ้า มีโจทย์ที่คลอบคลุมทุกเนื้อหา พร้อมเฉลยอีกด้วยยยย 

[ข้อสอบ+เฉลย] โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก และ การสังเคราะห์แสง


นี่!!!!! เรายังมีความรู้ เรื่อง ราก ลำต้น ให้เพื่อนๆได้เพิ่มพูนความรู้เพิ่มอีกน้าา กดเข้าไปในลิงค์ข้างล่างนี้เลยยยยย





                       



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น